วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รูปแบบศาลาวัดถ้ำผาดำสันติธรรม

รูปแบบศาลาวัดถ้ำผาดำสันติธรรม เสาจะใช้ไม้ตะเคียนหรือไม้ที่ตายแล้วและจมอยู่ใต้น้ำมาสร้าง ซึ่งต้องใช้จำนวน 108 ต้น


กิจกรรมงานทอดกฐินวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553












กิจกรรมงานทอดกฐินวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553












วันเตรียมงานบุญทอดกฐิน






ตั้งเสาศาลา












วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคาน (8 กันยายน 2553)

เวลา 04.30 น. ผู้ใหญ่บ้านห้วยตาดเปิดหอกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับทราบว่า วันนี้เช้าวันที่ 8 กันยายน 2553 ขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 เป็นวันพระและบุญข้าวประดับดิน (เป็นการทำบุญเลี้ยงทูต ผี เทวดา ที่ช่วยดูไร่นาการเกษตรของชาวบ้าน) และประกาศให้ชาวบ้านไปรวมกันที่วัดถ้ำผาดำสันติธรรม เพื่อช่วยหลวงพ่อเทคานศาลาที่กำลังสร้าง โดยใช้เสาไม้ตะเคียนจำนวน 108 ต้น ซึ่งปัจจุบันกำลังเทคาน และตั้งเสาไปบางส่วนแล้ว



หลังจากที่ชาวบ้านทำบุญตักบาตรเสร็จ ก็พากันมารวมตัวที่วัดถ้ำผาดำสันติธรรมตามที่นัดหมาย แล้วก็แบ่งหน้าที่กันคนละไม้ คนละมือ อย่างมุ่งมั่น ทำงานไปด้วย คุยกันไปด้วย ตามประสาเพื่อนบ้านที่พบเห็นกันเป็นประจำ เหนื่อยก็เปลี่ยนมือกันไปพัก หายเหนื่อยก็เปลี่ยนมือมาทำงาน ต่างคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งมองดูแล้วทำให้เรารู้สึกภูมิใจและประทับใจเป็นอย่างมากที่ได้มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นบรรยากาศและวิถีชีวิตของชาวบ้านตอนเป็นเด็ก เพราะสิ่งตอบแทนที่ทุกคนมาทำในวันนี้ไม่ใช่เงิน แต่มันคือผลบุญที่ต้องการให้ตัวเองและญาติพี่น้องมีความสุข ซึ่งความสุขที่ว่านี้คือ “ ความสุขทางใจ ” เมื่อศาลาสร้างเสร็จก็จะเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชนในการมาทำบุญ ทำทาน ฟังเทศนา บำเพ็ญเพียรฝึกสมาธิ เป็นต้น ซึ่งเป็นหนทางดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้มาแล้ว





ช่วงบ่ายคณะครูโรงเรียนบ้านห้วยตาดได้พานักเรียนนำผ้าป่ามาถวาย เพื่อเป็นทุนในการสร้างศาลาต่อไป หลังจากถวายผ้าป่าเสร็จนักเรียนก็ได้แบ่งกลุ่มกันบำเพ็ญประโยชน์ให้กับวัด บ้างกลุ่มพากันไปล้างห้องน้ำให้วัด บางกลุ่มไปเก็บขยะรอบวัด บางกลุ่มไปช่วยชาวบ้านเทคานศาลา ซึ่งเด็กๆ ทุกคนต่างช่วยชาวบ้านอย่างขยันขันแข็ง รวมทั้งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างสนุกสนานมองดูแล้วรู้สึกอบอุ่นจริงๆ ก็อยากเก็บและรักษาบรรยากาศแบบนี้ไว้อย่างนี้ตลอดไป ขอขอบคุณคณะครูทุกท่านที่ได้พานักเรียนมาเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ปัจจุบันเด็กกลุ่มนี้ก็กลายเป็นอนาคตของหมู่บ้านไปแล้ว และจะกลายเป็นอนาคตของชาติต่อไปในอนาคต สักวันหนึ่ง...เชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะได้บอกเล่าให้ลูก ให้หลานฟังอย่างภาคภูมิใจว่า “ ศาลาที่กำลังนั่งปฏิบัติธรรมอยู่นี้ สร้างด้วยมือของพวกเขาเอง ” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้รู้สึกถึงคุณค่า และรู้จักหวงแหนในสิ่งที่พุทธศาสนิกชนรุ่นก่อนได้สร้างไว้







สำหรับงบประมาณในการสร้างศาลาในครั้งนี้ มาจากปัจจัยของชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจากที่ต่างๆ ซึ่งยังไม่เพียงพอกับงบประมาณที่ประเมินไว้ โดยปัจจุบันสิ่งที่ทางวัดจำเป็นต้องใช้และขาดแคลนมากคือ วัสดุก่อสร้างต่างๆ ปูน หิน ทราย และอุปกรณ์ต่างๆ ถังตักปูน พลั่วตักหินตัก
ทราย รถเข็นปูน เป็นต้น